กีฬาในเกาหลี



กีฬาในเกาหลี

โบว์ลิ่ง ( bowling )

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบว์ลิ่ง
   
⇝ประวัติ⇜

          โบว์ลิ่ง เป็นกีฬาในร่มชนิดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือต่างๆ และจากเว็บไซท์ที่เกี่ยวกับโบว์ลิ่งนั้น ในแต่ละที่ก็ยังคงมีข้อมูลประวัติความเป็นมาของโบว์ลิ่งที่แตกต่างกันอยู่บ้าง

             จากหลักฐานที่ค้นพบโดยนักโบราณคดี ซึ่งพบในหลุมฝังศพของเด็กชาวอียิปต์ ทำให้เชื่อได้ว่าเมื่อประมาณ 5,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่ใช้ก้อนหินกลมๆ กลิ้งไปโดนแก่นที่ทำด้วยไม้ให้ล้ม ซึ่งคล้ายกับการเล่นโบว์ลิ่งในปัจจุบันแต่ในสมัยนั้นจะเล่นกันกลางแจ้ง

             ซึ่งในยุคสมัยเดียวกันได้มีหลักฐานที่แสดงว่าชาว Polynesian ได้มีการเล่นเกมชนิดหนึ่ง โดยนำก้อนหินกลมๆกลิ้งไปให้โดนวัตถุซึ่งวางอยู่ห่างออกไปเป็นระยะทาง 60 ฟุต ซึ่งเป็นระยะทางที่เท่ากับระยะทางจาก foul line ไปถึง headpin ในปัจจุบัน

              นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโบว์ลิ่งคือ นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันเชื่อว่า ในเยอรมันได้มีการเริ่มเล่นโบว์ลิ่งในช่วงคริสต์ศักราช 300 โดยเป็นส่วนหนึ่งในพิธีการทางศาสนา ผู้เล่นจะโยนบอลให้กลิ้งไประหว่างทางเดินในโบสถ์เพื่อให้โดนเป้า เพื่อใช้เป็นการเสี่ยงทายบางอย่าง

               ได้มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าช่วงคริสต์ศักราช 1366 โบว์ลิ่งได้เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายมากในอังกฤษ แต่กษัตริย์ Edward ที่ 3 ซึ่งครองราชในช่วงปีคริสต์ศักราช 1327-1377 และกษัตริย์ Richard ที่ 2 ซึ่งครองราชในช่วงปีคริสต์ศักราช 1377-1399 ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเห็นว่าประชาชนและทหารไม่ได้เห็นความสำคัญของกีฬายิงธนู จึงทรงออกกฏห้ามเล่นโบว์ลิ่ง เพื่อให้ประชาชนและทหารหันกลับมาสนใจกีฬายิงธนูเหมือนเดิม แต่อย่างไรก็ตามโบว์ลิ่งก็กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัย กษัตริย์ Henry ที่ 8


             โบว์ลิ่งได้เข้าสู่สหรัฐอเมริกา ในศตวรรษที่ 17 โดยชาวดัชที่อพยพจากฮอลแลนด์เป็นผู้นำเข้าไป พินที่ใช้จะมีทั้งหมด 9 พินวางเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยมและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในปี 1840 ได้มีการเริ่มนำโบว์ลิ่งมาเล่นกันเป็นกีฬาในร่ม ต่อมาในปี 1841 มลรัฐ Connecticut ได้สั่งห้ามการเล่นโบว์ลิ่ง 9 พิน อย่างเด็ดขาดเพราะถือเป็นการเล่นการพนัน ซึ่งรัฐอื่นก็ถือปฏิบัติตามด้วย ทำใหโบว์ลิ่ง 9 พินเริ่มเสื่อมความนิยมลง หลังจากนั้นได้มีการคิดค้นโบว์ลิ่ง 10 พินขึ้นซึ่งทำให้สามารถเล่นกันได้อย่างถูกกฏหมายได้ในหลายมลรัฐเช่น New York,Ohio และ Illinois แต่อย่างไรก็ตามขนาดของพินและน้ำหนักของบอลก็ยังคงมีความแตกต่างกัน

                     ปี 1875 ได้มีการประชุมโดยสโมสรต่างๆ จำนวน 11 สโมสร ที่ตั้งอยู่ในมลรัฐ New York เพื่อกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์การเล่น และกฏกติกาการแล่น แต่ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานความกว้างของเลนและขนาดของพิน



                  การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อเจ้าของภัตาคารชื่อ Joe Thum ได้เป็นตัวแทนเพื่อประสานความร่วมมือกับสโมสรโบว์ลิ่งในเขตต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการก่อตั้ง The American Bowling Congress (ABC) ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 1895 ที่ Beethoven Hall ในเมือง New York หลังจากนั้นจึงมีการกำหนดมาตรฐานและกฏเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ถือปฏิบัติให้เหมือนกันขึ้นคือกำหนดให้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 300 ระยะห่างระหว่างพินคือ 12 นิ้ว

   ปี 1905 เป็นครั้งแรกที่ได้มีการผลิต rubber ball น้ำหนักสูงสุดคือ 16 pounds ซึ่งก่อนหน้านั้นจะเป็น ball แบบ lignum vitae ทั้งหมด

   ปี 1906 Brunswick-Balke-Collender ได้เปิดโรงงานเพื่อผลิตลูกโบว์ลิ่งที่ทำด้วยไม้

   ปี 1917 The Woman's International Congress ได้กำเนิดขึ้นที่เมือง St. Louis

   ปี 1948 Brunswick ได้กำหนดให้มี dot และ arrow ขึ้นในเลนเพื่อช่วยให้เกิดความแม่นยำแก่ผู้เล่นมากขึ้น

   ปี 1958 ได้มีการก่อตั้ง The Professional Bowlers Association (PBA) ขึ้นโดย Eddie Elias

            ส่วนในประเทศไทยโบว์ลิ่งได้เข้ามาเผยแพร่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2507 และมีการจัดตั้งเป็นสโมสรโบว์ลิ่งไทยโดยการนำของ พลตรีพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ จุดประสงค์เพื่อเป็นการรวบรวมนักกีฬาโบว์ลิ่ง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสโมสรโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2511 และได้จดทะเบียนกับกรมตำรวจ โดยได้รับใบอนุญาติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2515 ใช้ชื่อว่า สมาคมโบว์ลิ่งไทย ต่อมาปี 2519 ได้เปลี่ยนเป็น สมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thailand Bowling Congress ปัจจุบันใช้คำว่า Thai Tenpin Bowling Congress (TTBC)

              หนังสือ American Bowling Congress (ABC) และหนังสือของ Charles Hall กล่าวว่า ชาวอียิปต์ได้มีการเล่นกีฬาชนิดหนึ่งคล้ายกับการเล่นโบว์ลิ่งมาตั้งแต่ ประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยใช้ไม้เป็นแก่นและใช้ลูกหินกลมๆ กลิ้งไปทอยแก่นให้ล้ม ตามหลักฐานจากรูปภาพในหลุมฝังศพเด็กชาวอียิปต์ในสมัยนั้น
ชาวโปลิเนเซียน มีการเล่นอูลาไมก้า (Ula Maika) โดยกลิ้งก้อนหินไปให้ถูกเป้าซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไป 60 ฟุต เท่ากับระยะจากเส้นฟาวล์ถึงพินหนึ่งของโบว์ลิ่งปัจจุบันนี้พอดี
เมื่อประมาณต้นคริสต์ศักราช ในประเทศเยอรมัน มีการเล่นกีฬาเคเกล (Kegal) ซึ่งคล้ายกับการเล่นโบว์ลิ่ง ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ผู้ตั้งนิกายโปรเตสเต้นท์ ได้กำหนดให้มี 9 พิน และได้แพร่หลายออกไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรป ชาวอังกฤษดัดแปลงไปเล่นบนสนามหญ้า เรียกว่า Lawn Bowling และยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่จนปัจจุบัน


⇝กติกา⇜

1.หนึ่งเกมในกีฬาโบว์ลิ่งจะมีทั้งหมด 10 เฟรม แต่ละเฟรมสามารถโยนได้สูงสุด 2 ครั้ง ยกเว้นเฟรมที่ 10 สามารถโยนได้สูงสุด 3 ครั้ง เพราะฉะนั้นใน 1 เกมจะโยนทั้งหมด 20-21 ครั้ง คะแนนสูงสุดเท่ากับ 300คะแนน ใน 1 เกม

2.มีพิน(Pin)ทั้งหมด 10 พินตั้งเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม

3. การสไตรค์ (Strike) คือการโยนครั้งแรกแล้วทำให้พินล้มทั้ง 10 พิน

4. จากการทำสไตรค์ได้ จะนำคะแนน (10 คะแนน) ไปรวมกับคะแนนในสองครั้งถัดไป

5. สแปร์ (Spare) คือการที่สามารถทำให้พินล้มทั้ง 10 พิน ในการโยนครั้งที่ 2 และจะนำคะแนนโบนัสจากการโยนอีกหนึ่งครั้งต่อไปมารวมด้วย

6. Open คือการโยนครบทั้งสองครั้งแล้วพินยังล้มไม่หมด

กีฬายิงธนู (Archer Sports)


⇝ประวัติ⇜ 

ามประวัติศาสตร์ชาติไทย เกือบจะไม่มีหลักฐานกล่าวถึงเรื่องการใช้ธนูแต่อย่างใด ทั้งการใช้ธนูในด้านอาวุธและทางด้านการกีฬา จะมีรู้กันอยู่บ้างก็กล่าวถึงในวรรณกรรม เช่น ธนูในพุทธประวัติ ธนูพระรามในรามเกียรติ์ เกาทัณฑ์ในสามก๊ก ยิ่งมาในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยิ่งขาดการพาดพิงถึงกิจกรรมธนูเท่าใดนัก
      จริงอยู่ใคร ๆ ก็รู้จักธนูกันทั่วไป แต่ธนูที่รู้จักกันนั้นไม่ผิดอะไรกับปืนเถื่อนของชาวบ้าน ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับปืนชั้นดี สมัยใหม่ ธนูที่ชาวไทยรู้จักเป็นส่วนใหญ่ไม่ผิดอะไรมากนักกับธนูเด็กเล่น คือเหลาไม้ไผ่แล้วนำมาโก่งขึงสายก็นับว่าเป็นคันธนู ลูกธนูก็เหลาไม้ปลายแหลม แล้วเอาขนนกมาติดหาง หรือชนกลุ่มน้อยบางเผ่าในประเทศไทยอาจใช้ใบไม้บางชนิดมาทำหางลูกธนูก็เป็นเพียงลูกธนูชาวบ้านชาวป่า
 

สำหรับกฎและกติกาการยิงธนู

               กฎสำคัญที่สุดในการยิงธนู คือ กฎแห่งความปลอดภัย การยิงธนูเป็นกีฬาที่อาจสร้างอันตรายให้กับคนอื่น ๆ ได้ หากขาดการระมัดระวัง และประมาทในการเล่น ดังนั้นผู้เล่นจึงต้องยึดกฎแห่งความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด  ก่อนทีจะยิงธนูทุกครั้งต้องแน่ใจว่าบริเวณเป้า และด้านหลังเป้าปลอดภัย ไม่มีคน สัตว์ หรือสิ่งของอยู่ใกล้เกะกะ จึงจะปล่อยลูกออกไป                                                                                   
            1.พึงรักษากฎแห่งความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ระลึกเสมอว่า ธนูเป็นอาวุธที่ใช้ในการกีฬาเท่านั้น ลูกธนูที่ยิงออกไปก่อให้เกิดอันตรายได้หากผู้ยิงขาดความ
ระมัดระวัง 

                2.ในขณะที่รอจะเข้าเส้นยิง หรือช่วยดูตำแหน่งลูกธนูให้กับนักยิงธนูผู้อื่นขณะทำการยิงให้อยู่ด้านหลังของผู้ยิง หรือบนเส้นยิง เมื่อทุกคนยิงเสร็จแล้วจึง
จะเดินไปที่เป้าได้

                 3.เก็บลูกธนูไว้ในซองลูกธนูในซองลูกธนูจนกว่าจะเข้าเส้นยิงและถึงเวลายิง

                4.อย่าปล่อยลูกธนูออกไปจนกว่าจะเห็นเป้าหมายชัดเจน และแน่ใจว่าบริเวณใกล้เคียงหรือด้านหลังของเป้าปลอดภัย 

                 5.อย่าพยายามแสดงความสามารถด้วยการใช้ผู้อื่นเป็นเป้า หรือให้ผู้อื่นถือเป้าที่จะยิง

                 6.อย่าปล่อยลูกธนูออกไปถ้าไม่สามารถเห็นตำแหน่งที่ลูกธนูจะ ไปตก อย่ายิงธนูระยะไกลที่เป็นป่าไม่ อย่ายิงธนูขึ้นฟ้าตรง ๆ

                 7.อย่าใช้ลูกธนูที่ชำรุด ตรวจดูลูกธนูแต่ละลูกโดยละเอียดในขณะเก็บลูก 

                 8.อย่าขึ้นคันธนูผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและห้ามน้าวสาย ธนูไม่ว่ากรณีใด ๆ อย่าแตะต้องอุปกรณ์ยิงของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

                 9.อย่าสวมรองเท้าแตะหรือไม่สวมรองเท้าเดินในสนามยิงธนู 

                10.ช่วยเหลือเพื่อนนักยิงธนูและกีฬายิงธนู 

                นี่คือกีฬายิงธนูกีฬาที่หลายคนลงมติเห็นว่าเป็นกีฬาที่ท่า ทายความแม่นยำตัวจริง ดังนั้นคนที่ฝึกยิงธนูจะได้ของแถมนอกจากการเล่นกีฬาแล้ว ยังได้ฝึกฝนกล้ามเนื้อร่างกายให้แข็งแรง และมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ

 ⇝กติกา⇜
 
กีฬายิงธนูมีกติกาในการแข่งขันที่พอจะสรุปได้อยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้
1. ถ้าทำการขึ้นคันธนูแล้วห้ามนักกีฬาปล่อยลูกธนูโดยทันที จนกว่าจะเห็นเป้าหมายชัดเจน และต้องแน่ใจว่าด้านหลังเป้าหมายไม่มีคนหรือสิ่งมีชีวิตอยู่ใกล้บริเวณนั้นหรืออยู่ในระยะของลูกธนู
 
2. ห้ามใช้คนหรือสิ่งมีชีวิตเป็นเป้าโดยเด็ดขาด และไม่ควรให้ผู้อื่นยืนถือเป้าเพื่อฝึกซ้อมยิงด้วย เพราะถ้าเกิดผิดพลาดอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
 
3. ห้ามนักกีฬายิงธนูขึ้นฟ้าอย่างเด็ดขาด เพราะจะไม่สามารถกำหนดทิศทางลูกธนูได้ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้คนในบริเวณนั้นหรือตัวเราเองอย่างไม่ขาดคิดได้
 
4. ห้ามใช้ลูกธนูที่ชำรุดแล้วมาใช้ในการแข่งขันและในการฝึกซ้อม
 
5. ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรขึ้นคันธนูของผู้อื่นโดยเด็ดขาด จนกว่าเจ้าของจะอนุญาต
 
6. ควรสวมรองเท้าที่เหมาะสมทุกครั้งในขณะที่อยู่ในสนามไม่ว่าจะเป็นช่วงการฝึกซ้อมหรือในเวลาแข่งขัน
 
7. มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รวมทั้งเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในระหว่างการฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน
 
8. ในการยิงธนูควรปฏิบัติตามกฎกติกาและมารยาทในการเล่นอย่างเคร่งครัด ถ้ายังไม่เข้าใจกฎหรือมีข้อสงสัยควรสอบถามจากผู้รู้ อาจจะเป็นโค้ช ครูผู้ฝึกสอน หรือคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นในการแข่งขันรายการนั้นๆ
 
กีฬายิงธนูนักกีฬาที่สนใจเล่นกีฬาประเภทนี้ต้องหมั่นฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ จึงจะช่วยให้คุณสามารถยิงธนูได้อย่างแม่นยำได้อย่างที่คุณต้องการ



⇝ผู้จัดทำ⇜
นางสาวนิยตา               วาปีเก่า
นางสาวจิราวดี              เหมือนวาจา
นางสาวณภัสวรรณ      ศาลางาม
นางสาวเต็มตรอง          พิจารณ์
นางสาวธนัญกาญจน์   พีระนันท์รังษี










ความคิดเห็น